Final

เทคนิคการอ่านหนังสือ


เพื่อนๆ หลายคนมีปัญหากับการอ่านหนังสือสอบกันเป็นจำนวนมากที่เดียว ไม่มีสมาธิบ้าง ไม่รู้จักเริ่มต้นอ่านตรงไหน โฟกัสจุดไหนดี วันนี้ ทีนเอ็มไทยมี เคล็ดลับอ่านหนังสือยังไงให้จำเร็วและแม่น มาฝากกันคะ หวังว่าจะเป็นประโยชน์ให้เพื่อนๆ ได้ไม่มากก็น้อยนะคะ 


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ รูปหนังสือ


1. อ่านหน้าสรุปก่อน
รูปภาพที่เกี่ยวข้องอ่านตอนจบก่อนเลย ผู้เขียนหนังสือส่วนใหญ่ชอบเขียนให้ดูลึกลับ ชักแม่น้ำทั้งห้า เขียนอธิบายอย่างละเอียดยิบ ใช้ประโยคที่ต้องอ่านซ้ำสองสามรอบถึงจะเข้าใจ โดยเฉพาะในหน้าแรก ๆ ของบท เราไม่จำเป็นต้องรู้ประวัติชีวิตของผู้เขียน บทนำ ซึ่งจะเป็นการเขียนเกริ่นแนะนำให้อ่านต่อไปเรื่อย ๆ ซะเป็นส่วนใหญ่
ในทางกลับกัน บทส่งท้าย หรือบทสรุป เป็นสิ่งที่ต้องอ่าน โดยปกติแล้วจะเป็นส่วนที่ผู้เขียนสรุปข้อมูลทั้งหมดที่ได้กล่าวมา อีกทั้ง หากเราอ่านบทสรุปก่อน แล้วกลับมาอ่านหน้าแรกอีกครั้งก็ทำให้เราสามารถอ่านได้เข้าใจมากขึ้น แม้กระทั่งในเวลาที่ต้องอ่านหนังสือก่อนเพื่อไปเรียนในคาบถัดไป การอ่านส่วนบทสรุปก็ทำให้เราเห็นภาพคร่าวๆ ของเนื้อหาที่ต้องเรียนแล้ว
2. ใช้ปากกาไฮไลต์เพื่อนเน้นใจความสำคัญ
ข้อผิดพลาดที่หลายคนทำ คือการเลิกไฮไลต์ เนื่องจากครูผู้สอนกล่าวถึงแทบทุกอย่างในหน้าหนังสือ เลยไฮไลต์ตาม ปรากฏว่าไฮไลต์ไปหมดทั้งหน้า ซึ่งกลายเป็นการกระทำที่ไม่เกิดประโยชน์ไป จึงขี้เกียจไฮไลต์อีก และเลิกทำไปในที่สุด
ความจริงแล้ว การไฮไลต์ข้อความนั้นมีประโยชน์มาก “หากใช้อย่างถูกวิธี” ไม่ควรไฮไลต์ทุกอย่างในหน้า และไม่ควรไฮไลต์น้อยจนเกินไป สิ่งที่ควรทำคือการไฮไลต์ข้อความที่ผู้เขียนกล่าวสรุป โดยปกติแล้วผู้เขียนมักจะกล่าวประเด็นซ้ำไปมาหลายหน้าและให้ข้อมูลสรุปประเด็นที่ย่อหน้าสุดท้าย ให้ไฮไลต์บริเวณนั้น เมื่อเราเปิดหนังสือมาอ่านอีกครั้ง เราจะสามารถทราบทุกอย่างที่จำเป็นต้องรู้ด้วยการมองเพียงแวบเดียว
3. ดูสารบรรณและหัวข้อย่อย
นักศึกษาที่เรียนในมหาวิทยาลัยมักประหลาดใจเมื่อทราบข้อนี้ว่า อาจารย์ส่วนใหญ่ในมหาวิทยาลัยนั้น ไม่ได้อ่านหนังสือจนจบเล่ม แต่สิ่งที่พวกท่านทำนั้น คือการดูสารบรรณและอ่านหัวข้อที่น่าสนใจหรือเกี่ยวข้องกับงานวิจัยที่จะทำเท่านั้น หรือไม่ก็ใช้วิธีการ อ่านผ่านๆอย่างรวดเร็ว (skimming) จนเมื่อเจอหัวข้อที่น่าสนใจจึงค่อยหยุดอ่านอย่างตั้งใจ ทำให้การอ่านั้นไม่น่าเบื่อ เพราะว่าเราจะได้อ่านสิ่งที่เราสนใจจริง ๆ เท่านั้น
และยังทำให้เรารู้ใจความสำคัญของสิ่งที่ผู้เขียนต้องการสื่อได้อยู่ดี เพราะผู้เขียนมักจะกล่าวถึงประเด็นสำคัญซ้ำ ๆ ในทุกส่วนของหนังสือ เทคนิคนี้ช่วยป้องกันอาการ “ตามองอ่านตัวหนังสือทุกบรรทัด แต่ใจความไม่เข้าหัวเลย” อ่านออกแต่สมองไม่ตอบรับว่าสิ่งที่อ่านไปนั้นคืออะไร เพราะเกิดจากการอ่านสิ่งที่เราไม่อยากอ่านนั่นเอง
4. ขวนขวายกันสักนิด
ทนที่จะซึมซับทุกอย่างจากการอ่านหนังสือที่อาจารย์สั่งเท่านั้น ลองเปิดโลกใหม่ดูบ้าง หาหนังสือเล่มอื่นๆ ในห้องสมุด หรือในอินเตอร์เน็ตก็มีเยอะแยะไปที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่เรียนมาอ่านดู ซึ่งหนังสือบางเล่มพูดถึงเล่มเดียวกันแต่เขียนได้น่าอ่าน อ่านเข้าใจง่าย มีภาพประกอบเพิ่ม สรุปแบบอ่านแล้วเข้าใจ ซึ่งจริง ๆ เนื้อหาก็เรื่องเดียวกับที่เรียนในห้อง
แต่ขึ้นชื่อว่าหนังสือเรียนก็รู้ๆ กันอยู่อ่านไปหลับไปเป็นธรรมดา ดังนั้นการหาความรู้ข้างนอกมาเสริมจะช่วยให้เราเข้าใจสิ่งที่เรียนได้ง่าย และเข้าใจมากขึ้น บางทีอาจรู้ลึกกว่าที่เรียนในคาบเสียอีกนะ หนังสือประวัติศาสตร์ไทย ที่มีอยู่ในห้องสมุดอาจจะอ่านแล้วสนุกน่าอ่านกว่าหนังสือที่ใช้เรียนอยู่ก็ได้ การอ่านไม่ใช่เรื่องที่จะทำให้สนุกได้โดยอัตโนมัติ หากเราไม่มองหาสิ่งที่เราอยากอ่านจริง ๆ เสียก่อน การอ่านจะกลายเป็นเรื่องน่าเบื่อสำหรับเราไป
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง5. พยายามอย่าอ่านทุกคำ
หลายคนคิดว่าการอ่านทุกคำจะช่วยให้จดจำข้อมูลได้อย่างละเอียดยิบ ความจริงแล้วหาเป็นเช่นนั้นไม่ เพราะสมองจะได้รับข้อมูลมากเกินไปและเกิดความล้า เบื่อหน่ายจนตาลอยอ่านหนังสือไม่เข้าหัวในที่สุด
ที่เป็นเช่นนี้เพราะหนังสือที่ไม่ได้อยู่ในประเภทนิยายมักจะถูกเขียนอธิบายซ้ำ ๆ เพราะผู้เขียนต้องการจะกล่าวอธิบายให้กระจ่าง แต่ใจความสำคัญจริง ๆ แล้วอยู่ที่บทสรุปเพียงไม่กี่ย่อหน้า หนังสือส่วนใหญ่ใส่ข้อมูลหลักฐานจนแน่นมากกว่าจะกล่าวถึงประเด็น ซึ่งก็เป็นเรื่องดีและน่าสนใจ แต่ทุกหลักฐานที่อ้างนั้นก็กล่าวถึงประเด็นเดียว การอ่านเพิ่มเติมก็เป็นการย้ำถึงประเด็นเดิม ดังนั้นเลือกหลักฐานที่น่าสนใจที่สุดแล้วอ่านบทต่อไปเถอะ
แม้แต่หนังสือประเภทนวนิยายก็อาจทำให้เราเบื่อได้เช่นกัน ในบางตอนที่ผู้เขียนอธิบายฉากอย่างละเอียดยิบ ให้ใช้วิธีการอ่านผ่าน ๆ (skimming) จนกว่าจะเจอฉากที่น่าสนใจและอ่านอย่างตั้งใจอีกครั้ง การทำเช่นนี้อาจจะทำให้พลาดส่วนสำคัญบางอย่างไป แต่ก็ทำให้เราอ่านต่อไปได้มาก ดีกว่าเบื่อและหยุดอ่านไป
6. เขียนสรุปมุมมองของผู้อ่าน
อดทนหน่อยอย่าเพิ่งเบื่อ! คนส่วนใหญ่ไม่ชอบการเขียน แต่การเขียนนั้นเป็นวิธีการที่ง่ายที่สุดในการรวบรวมข้อมูลสำคัญในระยะเวลาอันสั้น หากเป็นไปได้ให้เขียนใจความสำคัญในแบบฉบับของเราใน 1 หน้ากระดาษ โดยพูดถึงประเด็นที่ผู้เขียนต้องการจะสื่อ ยกตัวอย่างสั้น ๆ และคำถามหรือความรู้สึกของเราที่ต้องการการค้นคว้าเพื่อหาคำตอบต่อไปให้ดียิ่งขึ้น
การเขียนมุมมองของผู้อ่านเช่นนี้ เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เราทราบถึงประเด็นสำคัญของหนังสือเช่นเดียวกับการไฮไลต์ข้อความ เมื่อใกล้ถึงช่วงสอบ จะเป็นการง่ายกว่าที่เราจะนั่งอ่านมุมมองสรุปของผู้อ่าน แทนที่จะพลิกตำราอ่านหนังสือทั้งเล่มเพื่ออ่านทบทวนอีกครั้ง หากเป็นหนังสือภาษาอังกฤษ เราสามารถอ่านรีวิวหนังสือจากผู้อ่านคนอื่น ๆ ในเว็บไซต์ เช่น Amazon เป็นการเสริมข้อมูลในมุมมองของผู้อ่านท่านอื่น ๆ ที่ได้รับจากหนังสือเล่มนั้นเช่นกัน
7. อภิปรายกับผู้อื่น
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ anime chibiคนส่วนมากไม่ชอบการทำงานกลุ่ม แต่การจับกลุ่มกันพูดถึงเนื้อหาของหนังสือที่ต้องอ่านช่วยทำให้เราจำได้ง่ายขึ้น บางครั้งอาจพูดถึงหนังสือในแง่ตลก ๆ ก็จะทำให้เราจำประเด็นนั้นได้เมื่อเราอยู่ในห้องสอบ เพราะเราจะคิดถึงเรื่องตลกก่อน เป็นการใช้หลักการเชื่อมโยงข้อมูลที่ทำให้สมองของเราทำงานได้ง่ายขึ้น
การพูดคุยเกี่ยวกับหนังสือที่อ่านช่วยทำให้เราได้รับข้อมูลเพิ่มเติมจากบางส่วนที่เรามองข้ามไป บางคนนั้นชอบเรียนรู้โดยการฟัง และมักจะเรียนรู้ได้ดีที่สุดเมื่อได้ยินข้อมูล ดังนั้นการพูดคุยสนทนาถกเถียงประเด็นที่อยู่ในหนังสือจะทำให้เราจำประเด็นสำคัญนั้นได้ดีเมื่อได้ฟังผ่านหู ทำให้เราสามารถระลึกถึงข้อมูลส่วนนั้นได้เมื่ออยู่ในการสอบ
8. จดคำถามข้อสงสัยที่เกิดขึ้นระหว่างการอ่าน
หัวใจหลักของเทคนิคนี้ คือการตั้งคำถาม อย่าเชื่อว่าผู้เขียนนั้นเขียนได้ถูกต้องซะทีเดียว ให้จดจ่อกับสิ่งที่อาจและใช้ความคิดเชิงวิเคราะห์ในการอ่าน
คำถามอาจซับซ้อนกว่านี้หรือง่ายกว่านี้ ขึ้นอยู่กับหนังสือที่อ่าน เคล็ดลับเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้เราอ่านหนังสือและจดจำได้เป็นอย่างดี แต่แน่นอนว่าอาจจะมีวิธีที่หลากหลายกว่านี้ แต่ละวิธีก็อาจให้ผลลัพธ์แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับว่าใครชอบวิธีไหน

แนวทางการเข้าสู่อาชีพที่ใฝ่ฝัน


 โดยผู้เขียนบล็อคมีความใฝ่ฝันว่าอยากจะเป็นนักธุรกิจในอนาคต เพราะงั้นวันนี้ ผู้เขียนบล็อคจะมานำเสนอแนวทางการเป็นนักธุรกิจค่ะ

6 วิธีเริ่มต้นเป็นนักธุรกิจ

1.รู้จักตัวตนที่แท้จริงของตัวเอง

การเริ่มต้นธุรกิจได้ไม่ใช่การทำตามอย่างคนอื่น จุดเริ่มสำคัญคือเราต้องรู้ตัวเองว่าเราเป็นใคร ต้องการทำอะไร อะไรคือสิ่งที่เราชอบ ใจรัก ทำแล้วได้ดี มีคำกล่าวที่ว่าการเริ่มต้นธุรกิจมีหลักแค่3อย่างคือ เป็นสิ่งที่ใจรัก เป็นที่สิ่งที่เราชอบ รวมถึงเป็นสิ่งที่เราทำได้ดีที่สุด ซึ่งอาจจะไม่ใช่ความสามารถที่ยิ่งใหญ่หรืออาจไม่ใช่เรื่องโดดเด่น แต่ถ้าเรารักและชอบในสิ่งที่เราทำก็สามารถเปลี่ยนให้เป็นธุรกิจของตัวเองได้ ไม่ว่าจะชอบเย็บปักถักร้อย ซ่อมเครื่อง ถ่ายรูป วาดภาพ ทุกอย่างเอามาเริ่มต้นสู่คำว่าธุรกิจได้ทั้งสิ้นดังนั้นสิ่งสำคัญคือเราต้องประเมินตัวเองให้ได้ก่อนในเบื้องต้น 

2.ค้นหาเส้นทางธุรกิจที่เหมาะกับตัวเอง

ความคิดทางธุรกิจที่ดีคือความคิดที่เป็นไปได้ในความเป็นจริง ไม่ใช่แค่เรื่องใจรักจะทำ แต่มันควรจะมองไปถึงเรื่องใครจะซื้อ ซื้อไปทำไม คู่แข่งมีไหม ฯลฯ หมายความว่าการตั้งโจทย์ของเราที่มาจากฐานความชื่นชอบจะถูกคัดกรองไปทีละขั้นให้ละเอียดขึ้น เช่น สินค้า/บริการมีกลุ่มคนต้องการไหม ถ้ามีเขาจะยินดีจ่ายที่เท่าไหร่ มันเป็นแค่ทางเลือกหรือสิ่งจำเป็น แล้วจะเข้าไปยืนอยู่รอดในตลาดนั้นได้อย่างไร เป็นต้น หากมีอะไรที่ดูขัดตาขัดความเป็นจริง เราควรพัฒนาแนวคิดให้ถึงจุดที่แข็งแรงที่สุดที่มันควรจะเป็น 

3.มองดูตลาดจริงหาคู่แข่งให้เจอ

เป็นขั้นตอนของการตีโจทย์ตลาดและคู่แข่งอย่างจริงจัง เริ่มต้นจากการค้นหาข้อมูลในอินเตอร์เน็ต วิเคราะห์สินค้าหรือบริการที่ทับซ้อนกับผลิตภัณฑ์ที่เราต้องการจะทำ คัดแยกไปเรื่อยจนพบคู่แข่งตัวจริง นอกจากนี้ยังรวมไปถึง การติดตามอ่านบทความธุรกิจของคู่แข่ง หรืออะไรก็ตามที่เราคิดว่าจะทำให้เข้าใจการแข่งขันในธุรกิจนี้มากขึ้น 

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ mystic messenger jaehee4.เรียนรู้ที่จะเขียนแผนธุรกิจของตัวเอง

แผนธุรกิจที่ดีจะช่วยสร้างชัดเจนของไอเดียการทำธุรกิจ ความเป็นไปในการดำเนินธุรกิจ โดยส่วนประกอบสำคัญที่ควรจะมี เช่น เรื่อง concept ธุรกิจ อธิบายภาพรวมของธุรกิจ สินค้า/บริการที่นำเสนอ , การตลาดและขาย ชี้แจงกลยุทธการขาย ฐานลูกค้า ช่องทางการขาย ความสามารถในการแข่งขัน , การบริหารทีมงาน ,การเงิน และการบริหารความเสี่ยง เป็นต้น โดยเราสามารถเรียนรู้การเขียนแผนธุรกิจที่เป็นโมเดลเบื้องต้นได้จากความรู้ในโลกออนไลน์หรือในขณะที่เราเป็นนักศึกษาก็สามารถถามความรู้เพิ่มเติมเหล่านี้จากครูอาจารย์ในมหาวิทยาลัยได้ 

5.ต้องมีคนที่ให้คำปรึกษาคอยเป็นไกด์นำทาง

ในความตั้งใจจริงนั้นเป็นเรื่องที่ดีแต่สิ่งที่เราในฐานะนักเรียนนักศึกษาผู้มุ่งหวังจะเป็นนักธุรกิจก็ต้องเข้าใจความจริงว่าเรายังอ่อนประสบการณ์ การเข้าสู่วงโคจรของธุรกิจนั้นมีความเชี่ยวกราก หากปราศจากการแนะนำหรือคนที่คอยประคับประคองแล้วมีโอกาสเสี่ยงสูงมากที่เราจะผิดพลาด ด้วยเหตุนี้หากคิดจะเป็นนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จควรมีที่ปรึกษาที่ไว้ใจได้ และที่ปรึกษานั้นควรเป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขาที่เราสนใจยิ่งถ้ามีผลงานที่ประสบความสำเร็จการันตีด้วยแล้วจะดีมาก ทั้งนี้เราอาจเพิ่มเติมความรู้จากคอร์สอบรม สัมมนาที่มีการจัดในหลายที่อย่างต่อเนื่องเพื่อเปิดโลกกว้างทางการลงทุนให้มากขึ้นด้วย 

6.ถ้ามั่นใจว่าชอบว่าใช่ก็ใส่เกียร์เดินหน้าได้เลย

หากเราก้าวจากจุดแรกมามาจนถึงขั้นนี้ได้ เรียกว่าเราก็มีความมุ่งมั่นเอาจริงเอาจังไม่น้อย แน่นอนว่าทุกข้อที่เราทำมาจะไม่เสียเปล่า ยิ่งทำมาเข้มข้นเท่าไหร่ ตัวเราเองคือผู้ที่จะได้รับความรู้มากเท่านั้น จากขั้นตอนนี้ไป มันไม่ใช่เรื่องของทฤษฎี มันคือการดำเนินธุรกิจบนสนามจริง ทุกปัญหาหรือความสำเร็จจะเป็นบทเรียนชีวิต ที่ไม่มีวันเกิดขึ้น หากไม่ลงมือทำจริง ดังนั้น จุดนี้เป็นจุดที่ไม่มีอะไรน่ากลัว ทุกอย่างคือความรู้และประสบการณ์อันมีค่าที่สุด หลายคนอาจพูดว่าเราไม่มีเงินทุน ไม่มีประสบการณ์มาก่อนคงไม่สามารถเริ่มต้นธุรกิจได้ สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงข้ออ้างของคนที่ไม่เอาจริง หากเราคิดจะทำอุปสรรคต่างๆ ก็เป็นเพียงโจทย์ปัญหาที่เราต้องแก้ ธุรกิจหลายอย่างที่เกิดขึ้นบนโลกนี้ไม่ได้เริ่มต้นอย่างสวยงามทั้งหมดบางคนล้มเหลวมาหลายครั้งกว่าจะสำเร็จ บางคนเริ่มต้นจากศูนย์ก็สามารถพลิกชีวิตให้ยิ่งใหญ่ได้ สำคัญที่ความคิดและความตั้งใจหากคิดจะทำหากอยากเป็นนักธุรกิจแค่คิดไม่พอต้องลงมือทำด้วย


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ แนวทางการเข้าสู่อาชีพนักธุรกิจ



Cr.เนื้อหา Cr.รูปภาพ

  จะอย่างไรก็ตามเมื่อเราค้นพบความฝันของเราแล้วเราก็ต้องพยายามที่จะทำมันให้ถึงที่สุด แล้วผลสำเร็จจะเกิดขึ้นกับตัวของพวกเราทุกคน

ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น